บอร์ด ประกาศ กฐินสามัคคี วัดหูแกง

ช่องทางติดต่อ Social

อัลบั้มวัดหูแกง A1 อัลบั้มวัดหูแกง A2 ช่องYoutube วัดหูแกง Facebook วัดหูแกง Twitter วัดหูแกง Google+ วัดหูแกง   ดาวน์โหลด chome วัดหูแกง ดาวน์โหลด Firefox วัดหูแกง

ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่าขาน วัดหูแกง วัดชายคลอง นาวง ห้วยยอด ตรัง

ประวัติ ตำนาน วัดหูแกง
จากตำนานสู่ตำนานจนเป็นเรื่องเล่าขาน
อดีต วัดหูแกง
หรือที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า "วัดชายคลอง" เดิมเป็นวัดร้างที่ไม่มีพระสงฆ์อยู่ประจำ เช่นในช่วงระยะเวลาหลัง ปี พ.ศ. ๒๕๒๓
โดยมากจะไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่เลย จึงต้องให้เจ้าคณะอำเภอห้วยยอดรักษาการเจ้าอาวาสเพื่อรักษาสภาพความเป็นวัดเอาไว้ 
และบางครั้งมีพระสงฆ์สายอรัญญวาสี(สายพระป่า)ได้เดินธุดงค์มาปักกลดอยู่เป็นประจำแต่ก็ไม่มีพระสงฆ์องค์ใดคิดที่จะอยู่เป็นประจำ
 
จากหลักฐานของสำนักงานวัฒนธรรมอำเภอห้วยยอด

ได้ทำการสำรวจสภาพวัดหูแกงครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔ พบแต่ซากโบราณสถานที่พังทลายมีสภาพ ดังนี้

๑. เสาหงส์ จำนวน ๑ คู่ มีขนาดสูงใหญ่อยู่ในสภาพทรุดโทรม
๒. อุโบสถหลังคามุงกระเบื้อง ฐานก่ออิฐถือปูน พระพุทธรูปในอุโบสถมีทั้งที่ประทับยืนและนั่งมีทั้งหมดจำนวน ๔ องค์ แต่ส่วนประกอบปูนปั้นพระพุทธรูป คละเคล้ากันอยู่กันเศษกระเบื้องมุงหลังคาเศษอิฐและกรวดทราย ไม่มีสภาพเดิมให้เห็น เสาอุโบสถเป็นไม้สี่เหลี่ยมขนาดเขื่อง และพบพัทธสีมาครบทั้งหมด

๓. ถ้ำ อีกบริเวณใกล้ๆกัน พบซากพระพุทธรูปปูนปั้นหลายองค์แต่ถูกทำลายจากพวกเล่นพระเครื่องและพวกหาของมีค่า


๔. ที่ธรณีสงฆ์ถูกบุกรุกแผ้วถางทำสวนยางพาราจนเหลือพื้นที่ไม่มากนักเดิมเป็นแม่น้ำขนาดใหญ่สามารถ ล่องเรือขนสินค้าไปขายทางด้านฝั่งอ่าวไทยได้   แต่ไม่สามารถที่จะเดินทางได้ตลอดปีเพราะช่วงหน้าแล้งน้ำน้อยไม่สามารถเดินทางไปได้ตลอด  
ประวัติการตั้งวัด
 ได้เล่าสืบต่อๆกันมาว่าสมัยก่อนประมาณ ๗๐๐ กว่าปีมาแล้ว 
แม่น้ำตรัง(คลองท่าประดู่)เดิมเป็นแม่น้ำขนาดใหญ่สามารถ ล่องเรือขนสินค้าไปขายทางด้านฝั่งอ่าวไทยได้   
แต่ไม่สามารถที่จะเดินทางได้ตลอดปีเพราะช่วงหน้าแล้งน้ำน้อยไม่สามารถเดินทางไปได้ตลอด
ทำให้ต้องตั้งที่พักชั่วคราว รอให้มีน้ำมากขึ้นจึงจะล่องเรือต่อไปได้   ซึงก็ใช้เวลาหลายเดือนอยู่กว่าจะล่องเรือต่อไปได้ 
จึงเกิดชุมชนขึ้น ณ บริเวณนี้ เมื่อเกิดชุมชนซึ่งเป็นชุมชนชาวพุทธ จึงได้สร้างวัดขึ้นมาเพื่อได้ทำศาสนกิจ และเรียกชื่อว่าวัด "หัวแก่ง" ตามลักษณะลำน้ำที่เป็นแก่ง
ต่อมาการเรียกขานชื่อวัดเพี้ยนไปเป็นวัด "หูแกง"   แต่มีบางส่วนเรียกชื่อวัดว่า "วัดชายคลอง" ก็มี เพราะในบริเวณนี้มีท่าดูดทรายจากลำคลองเพื่อจำหน่าย




 มีการพบถ้วยชามสมัราชวงศ์เหม็งจำนวนหนึ่งซึ่งมีจำนวนมากพอสมควร จึงพอจะสันนิษฐานได้ว่า ชุมชนนี้เกิดขึ้นตรงกับราชวงศ์เหม็งของจีน  
และมีการติดต่อค้าขายระหว่างกันโดยใช้ลำแม่น้ำตรัง(คลองท่าประดู่) เป็นทางขนส่งสินค้า
มองย้อนกลับไปในอดีต
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พอจะเชื่อถือได้ คือ "หนังสือจดหมายระยะทางไปตรวจราชการแหลมมลายู ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์" 
เชื่อได้ว่า วัดหูแกง เป็นวัดขนาดเล็กที่มีมานานแล้ว ด้วยตาม บันทึกในจดหมายเหตุ ระบุว่า โบสถ์วิหาร ชำรุด ทรุดโทรม ใกล้ผุพัง และหลักฐานทางราชการในนังสือทำเนียบวัดทั่วประเทศ จึงสอดคล้องกับตำนานที่มีคนเล่ากันมาว่าเป็นวัดที่ผู้เดินทาง รอล่องเรือผ่านแก่งหิน เพื่อขนสินค้าและสร้างขึ้นมา เพื่อทำศาสนกิจ วัดจึงไม่ได้ใหญ่โตแต่อย่างใด แต่ในอดีตมีสภาพที่ดีกว่าวัดคีรีวิหาร